เตรียมพร้อมกาย-ใจ เมื่อใกล้เข้า “วัยทอง ”
ผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้น ช่วงอายุจะไม่ค่อยแน่นอน ต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ มากมาย โดยเฉลี่ยแล้วหญิงไทยมักเข้าวัยหมดประจำเดือนประมาณอายุ 48-50 ปี
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนั้นอาจยังไม่หมดประจำเดือนไปเลยทีเดียว อาจเริ่มจากการที่ประจำเดือนเริ่มมาน้อยลง มาไม่สม่ำเสมอ หรือเริ่มห่างออกไป เช่นทุก 2-3 เดือน และจะเริ่มห่างออกไปเรื่อยๆ จนหมดประจำเดือน
ช่วงแรกที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้น รังไข่อาจยังมีการผลิตฮอร์โมนอยู่บ้าง ทำให้ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เมื่อรังไข่หยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ก็จะไม่มีประจำเดือนมาอีกเลย รวมทั้งอาจเกิดอาการต่างๆ ของ#วัยหมดประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนนั่นเอง ดังนั้น ถ้าเกิดประจำเดือนหยุดไปเลย ก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติอะไรนะคะ
อาการของวัยหมดประจำเดือนที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ อาการทางกาย ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ ซึ่งอาจร้อนตามตัวและใบหน้ามีเหงื่อออกมาก เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะง่าย และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดข้อต่างๆ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ช่องคลอดแห้งและอักเสบง่ายเป็นต้น
นอกจากนั้นอาจเกิดอาการทางจิตใจร่วมด้วย ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย หรืออาจเกิดภาวะซึมเศร้าเป็นต้น ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ มีได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งความรุนแรงต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ และอีกภาวะหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันการเข้าวัยหมดประจำเดือนนั้น ก็คือ ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนนั้นเอง
การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้น เป็นเรื่องที่ดีที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนนั้น ถือได้ว่า เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญช่วงหนึ่งของชีวิตผู้หญิงทุกคนทีเดียว
อย่างแรกเลยที่ขอแนะนำ คือ ควรจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมดประจำเดือนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังจะมาถึง ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ รวมทั้งต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ซึ่งถ้าสามารถทำได้แล้ว ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลานั้นไปได้อย่างดี รวมทั้งจะช่วยลดการเกิดปัญหาด้านจิตใจที่จะตามมาได้อีกด้วย
เรื่องสุขภาพร่างกาย แนะนำให้ดูแลสุขภาพให้ดีเหมือนเดิม กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน ลดพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารพวกโปรตีน ผัก ผลไม้ เส้นใย และแคลเซียม ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ รวมทั้งตรวจภายใน ตรวจคัดกรอง#มะเร็งปากมดลูก และการตรวจเต้านม
ส่วนกรณีที่มีโรคประจำตัว ก็คงต้องพยายามควบคุมโรคต่างๆ เหล่านั้นให้ดีที่สุดตามแพทย์แนะนำ ส่วนการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การตรวจมวลกระดูก ก็สามารถทำได้ตามความเหมาะสม ในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้น สามารถใช้ได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นกรณีไป รวมทั้งพิจารณาข้อดีและข้อเสียต่างๆ ของการรักษาด้วย หรือจะให้ง่ายและดีที่สุดนั้น ก็ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เพื่อที่จะช่วยให้มีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมที่สุดค่ะ
พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลง
ช่วงวัยหมดประจำเดือนร่างกายของผู้หญิงเรามีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป และมีอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวต่างๆ มาเยือน ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจหายไปภายในไม่กี่เดือน หรือบางคนอาจเป็นนาน 3-6 ปี อายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนอยู่ที่ประมาณ 49--52 ปี
Checklists สัญญาณเตือนใกล้เมโนพอส
• ประจำเดือนมาไม่ปกติ มากบ้างน้อยบ้าง หรือขาดหายในบางเดือน
• ร้อนวูบวาบ
• เหงื่อออกมากเวลากลางคืน
• อารมณ์แปรปรวน
• เครียดและหงุดหงิดง่าย
• วิตกกังวลบ่อย
• ขาดความมั่นใจ
• ขี้ลืม
• ปวดศีรษะ หรือปวดตามตัว
• ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ด กลั้นไม่ค่อยอยู่
• นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท
• ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
ฮอร์โมนทดแทนคืออะไร?
บางคนเมื่อถึงวัยเมโนพอส คุณหมอจะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อรักษาอาการวัยหมดประจำเดือนที่ส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอด ระบบทางเดินปัสสาวะ #โรคกระดูกพรุน ฯลฯ แต่ถ้าคนคนนั้นมีโอกาสเสี่ยงหรือเป็น#โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ตับอักเสบเฉียบพลัน หลอดเลือดดำอุดตันจากลิ่มเลือด คุณหมอจะไม่แนะนำให้ใช้เพราะอาจมีอันตรายจากโรคที่เป็นเพิ่มขึ้นได้
ร่างกายเปลี่ยนไป
เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงจะลดน้อยลงฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายมีความเป็นผู้หญิง เมื่อฮอร์โมนทำงานน้อยลง
• มดลูกมีขนาดเล็กลง เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง
• เต้านมเล็กลงหย่อนคล้อย ต่อมน้ำนมลดลง
• ผมบางลง ความเงางามลดลง สุขภาพผมดีลดลง
• สมองถดถอยทำให้ความจำลดลง
• ผิวเหี่ยวย่นขาดความเปล่งปลั่ง สดใส ผิวบางลง แพ้ง่าย เป็นกระฝ้าง่าย
• มวลกระดูกลดลง กระดูกบางลง เล็บเปราะหักง่าย มีโอกาสเป็น#โรคกระดูกพรุน
• กล้ามเนื้อลดลงในขณะที่ไขมันมีโอกาสเพิ่มขึ้นง่ายกว่า อ้วนง่าย
• ผนังเยื่อบุกล้ามเนื้อ ปัสสาวะบางลง มีโอกาสติดเชื้อและ#กระเพาะปัสสาวะอักเสบง่าย
• ผนังช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่นลดลง #ช่องคลอดแห้ง น้ำหล่อลื่นลดลง ความเป็นกรดด่างเปลี่ยนไปทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่าย
เรื่องที่ต้องระวังประจำเดือนผิดปกติ ถ้าหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 ปี ยังมีประจำเดือนมาอีก ควรรีบปรึกษาแพทย์
2. โรคกระดูกพรุน ความหนาแน่นของกระดูกลดลงทำให้กระดูกเปราะหักง่าย โดยเฉพาะส่วนข้อมือ กระดูกสันหลัง และสะโพก
3. #โรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจมีโอกาสตีบหรือดุดตันเพิ่มขึ้น
4. #โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีโอกาสตับหรืออุดตัน นำไปสู่โรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือสมองเสื่อมเนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
5. วัยทอง-ญ-ช.html">#โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น มีโอกาสที่หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้ร่างกายต้องปรับความดันโลหิตให้สูงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดแคบๆ ได้ดีขึ้น มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ง่าย
6. #โรคเบาหวาน เมื่อมีไขมันในเลือดสูง ระบบเผาผลาญลดลง บวกกับการกินอาหารมันๆ อุดมนมเนย ขนม หรือน้ำหวานมากก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูง
ดูแลรับมือได้แน่นอน
ไม่ใช่ว่าพอถึงเมโนพอสแล้วผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญปัญหา ใช้ชีวิตประจำวันอย่างทุกข์ทรมาน หรือทำงานทำการไม่ได้ ถ้าหากดูแลตัวเองดีตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถป้องกันอาการน่ารำคาญและป้องกันโรคไม่ให้มาเยี่ยมเยือนได้
o กินดี เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ กินผักผลไม้เป็นหลัก เน้นที่สีเข้มให้ได้ครบทุกสี ผลัดเปลี่ยนกันไป กินแป้งน้อย ไขมันน้อย หวานน้อย เค็มน้อย และกินอาหารอุดมแคลเซียม
o ออกกำลังให้บ่อยขึ้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที จะเดิน วิ่ง โยคะ ชี่กง ไทเก็ก แอโรบิก ก็ดูตามความสามารถของร่างกาย
o พักผ่อนให้พอ นอกจากการนอนหลับแล้ว ควรพักจากการทำงานเพื่อให้ร่างกาย และจิตใจคลายจากความเครียดบ้าง
o ทำกิจกรรมคลายเครียดบ้าง เลือกกิจกรรมที่ชอบ สิ่งที่ทำให้มีความสุข พบปะเพื่อนฝูงบ้าง จะได้ไม่เหงา หรือซึมเศร้าง่าย
o ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกหากมีจะได้รักษาแต่เนินๆ จะได้หายขาด
o รีบพบคุณหมอ หากมีอาการผิดปกติใดๆ อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
หากดูแลตัวเองดี ใส่ใจสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อถึงวัยเมโนพอสก็รับมือได้แน่นอนค่ะ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : อาการวัยทองเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.thaiherbweb.com/product/222998/สมุนไพรสตรีวัยทอง.html