วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พริกขี้หนูกับโรคหัวใจและหลอดเลือด






สารที่ให้ความเผ็ดร้อนในพริกขี้หนู พืชสมุนไพรไทย เรานั้นเรียกว่า แคปไซซิน ซึ่งแคปไซซินจะกระจายอยู่ทุกส่วนของผลพริก แต่ส่วนที่เผ็ดมากที่สุด นั้นก็คือ ส่วนของรก หรือส่วนที่เป็นไส้ของพริกซึ่งเป็นที่เกาะของเม็ดนั่นเอง ส่วนเม็ดและเปลือกของพริก ก็มีปริมาณแคปไซซินน้อยกว่า

สารแคปไซซินในพริกขี้หนู นอกจากจะให้ความเผ็ดร้อนแล้วยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำมาทำเป็นเจลทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้น แคปไซซินยังมีส่วนเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารและที่น่าสนใจคือ ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

ผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด สารแคปไซซินสามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด ส่งผลให้มีการขยานตัวของหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นได้มากขึ้น 

ผลต่อการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด ถ้าเกล็ดเลือดมีการจับกลุ่มกันง่าย หรือมากกว่าปกติจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น เพราะเลือดสามารถจับตัวกันเป็นก้อนแล้วอาจไปอุดกั้นหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ ก็จะทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ยังพบอีกว่า แคปไซซินสามารถลดการจับกลุ่มของเกล์ดเลือดได้ จากการศึกษา เมื่อเราให้ผู้ทดลองกินพริกขี้หนู สด 5 กรัมสับละเอียดพร้อมน้ำ 1 แก้ว แล้ววัดค่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดหลังจากกินทันที จนถึงประมาณ 1 ชั่วโมงหลังกิน พบว่ามีการยืดระยะเวลาของการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดออกไป ซึ่งส่งผลภายใน 30 นาทีหลังการกินพริกขี้หนู เข้าไป และหากให้คนกินพริกขี้หนู วันละ 5 กรัมพร้อมอาหารปกติ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดก็มีการยืดระยะเวลาออกไปเช่นกัน